ขั้นตอนการเก็บนมสต๊อก นำนมสต๊อกมาใช้อย่างไร?

Last updated: 29 ก.ย. 2565  |  2201 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขั้นตอนการเก็บนมสต๊อก นำนมสต๊อกมาใช้อย่างไร?

สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน หรือมีนมแม่มากพอ ที่จะทำสต๊อกเก็บไว้ให้ลูกทานในอนาคต อาจอยากทราบขั้นตอนการเก็บนมสต๊อกที่ปั๊มได้ ว่ามีขั้นตอนการเก็บนมสต๊อกอย่างไร? ทำอย่างไรไม่ให้นมเหม็นหืน แล้วถ้าจะนำนมสต๊อกมาใช้ต้องทำอย่างไร? วันนี้หมอหน่อยมีเทคนิคมาฝากแม่ๆ ค่ะ

สำหรับคุณแม่ ที่ต้องมีการปั๊มนม (อ่านเทคนิคการปั๊มนมสำหรับคุณแม่มือใหม่) และอยากทำสต๊อกนมไว้ในลูกน้อยทาน ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร วันนี้มาดูรายละเอียดเรื่องนี้กันค่ะ

นมสต๊อกเก็บได้นานแค่ไหน?
 
กรณีคุณแม่มีแผนที่ให้ลูกทานนมที่ปั๊มได้ภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เก็บในตู้เย็นธรรมดาเนื่องจาก นมที่สดใหม่ จะมีคุณค่าทางสารอาหาร และมีภูมิคุ้มกันมากกว่านมแช่แข็ง แต่กรณีที่ต้องเก็บนมสต๊อกในแบบอื่นๆ จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับอายุของลูกน้อยดังนั้น


กระเป๋าเก็บความเย็น ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีคือ กระเป๋าเก็บความเย็น B-KOOL Soul mate 3 Light gold 


กระเป๋าเก็บน้ำนมดีไซน์ 2 ชั้น หมดปัญหา เรื่อง ไอเย็นระเหย โดน เครื่องปั๊ม บุด้วยฉนวนเก็บอุณหภูมิหนาสูงสุดในท้องตลาด ถึง 15 mm เก็บอุณหภูมิได้ยาวกว่า 20 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 11.5°C มีช่องเก็บของใช้จุกจิกถึง 13 ช่อง

 
1.เป็นกระเป๋าเป้ หรือสะพายข้างของคุณแม่นักปั๊ม เก็บทุกอย่างได้ใบเดียว
2.กระเป๋าทำงานของคุณแม่
3.กระเป๋าเก็บความเย็น
คุณแม่สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ https://www.b-koolkid.com/



ขั้นตอนในการเก็บนมสต๊อก

1.ปั๊มนม โดยล้างมือให้สะอาดก่อนปั๊ม เครื่องปั๊มนมได้รับการทำความสะอาดมาแล้ว หรือเก็บอย่างดี ไม่มีโอกาสสัมผ้สเชื้อโรค
2.หลังปั๊มนม ให้เก็บในถุงเก็บน้ำนม ที่ออกแบบมาเพื่อเก็บนมโดยเฉพาะ โดยให้เลือกแบบ Food grade และ BPA free
3.เลือกถุงเก็บน้ำนมในถุงเก็บน้ำนมที่เหมาะกับปริมาณของน้ำนมที่ต้องการเก็บในแต่ละครั้ง เช่น ปั๊มได้ 3 ออนซ์ เก็บในถุง 3 ออนซ์ ปั๊มได้ 8 ออนซ์ให้เก็บในถุง 8 ออนซ์
4.ไล่อากาศออกจากถุงเก็บน้ำนมให้มากที่สุด หรือเหลือประมาณปลายนิ้วก้อย เพราะลดกลิ่นหืนของนม เนื่องจากในนมแม่ มีเอ็นไซด์ไลเปส (Lipase) ซึ่งทำหน้าที่ให้การละลายไขมันให้กลายเป็น Fatty acid เพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรีย แต่มักจะทำให้นมมีกลิ่นเหม็นหืนได้
5.เขียน Lebel ที่ถุงเก็บน้ำนม เช่น วันที่เก็บ ชื่อลูก ปริมาณน้ำนม หมายเลขถุง หรือ อาหารที่ทานในช่วงที่ปั๊มนม เนื่องจากถ้าลูกแพ้อาหารง่าย แม่อาจสามารถกลับมาดูได้ว่า ช่วงที่ลูกมีอาการแพ้ แม่ทานอาหารอะไรบ้าง
6.นำนมไปวางแช่แข็งในแนวราบ เพื่อที่จะสามารถเพิ่มพื้นที่ในการเก็บสต๊อกนมแม่มากขึ้น
7.หลังจากนมสต๊อกในถุงนั้นแข็งแล้ว สามารถทำไปจัดเก็บใส่ในถุง เรียงตามช่วงเวลาในการเก็บน้ำนม ให้ให้นำนมที่ปั๊มก่อน ออกมาให้ลูกทานก่อน ( First In, First Out)
8.เก็บนมแม่ในตู้เย็น หรือตู้ฟรีซ ตามที่วางแผนการใช้งาน


เทคนิคอื่นๆ ในการเก็บนมสต๊อก

  • ถ้านมที่ต้องการเก็บมีปริมาณน้อยมาก สามารถนำมารวมกันได้ โดยแนะนำให้นำนมไปแช่เย็นให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันก่อนเทรวมกัน เนื่องจากการเทนมที่มีอุณหภูมิแตกกต่างกันรวมกัน อาจทำให้สารอาหารให้นมแม่มีการเปลี่ยนแปลงได้
  • ไม่ควรเก็บนมแม่ ไว้ที่ช่องประตู หรือช่องเก็บไข่ เนื่องจากอุณหภูมิไม่คงที่ อาจมีผลต่ออายุการเก็บของนมแม่ได้

ขั้นตอนการทำนมแม่ออกมาใช้

  • ให้นำนมแม่ ที่เก็บไว้ก่อนมาใช้ก่อน
  • การละลายนมแม่ ทำได้หลักๆ 3 วิธีคือ

    A.นำนมแม่ออกจากช่องฟรีซมาไว้ตู้เย็นช่องธรรมดาก่อนการทาน 12 ชั่วโมง หรือ นำออกมาคืนก่อนที่จะทาน เช่น วางแผนว่าพรุ่งนี้จะเตรียมนมให้ลูก 12 ออนซ์ ก่อนนอนให้นำนมจากช่องฟรีซ มาไว้ช่องธรรมดาก่อน 12 ออนซ์ ตอนเช้าจะมีนมที่ละลายแล้วให้ลูกทานพอดี
    B.แช่ในน้ำอุณหภูมิห้อง ประมาณ 30 นาที นมแม่จะละลายพร้อมทาน
    C.นำนมที่ฟรีซไว้ ไปผ่านน้ำอุ่นประมาณ 39 องศา เพื่อให้นมละลาย
สิ่งที่ไม่ควรทำ
  • ห้ามละลายนมแม่ในไมโครเวฟ เนื่องจากการทำให้สารอาหารให้นมแม่หายไป
  • ห้ามละลายนมแม่โดยการวางที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากอาจทำให้มีแบคทีเรีย เจริญเติบโต จนอาจทำให้ลูกเจ็บป่วยได้
  • ห้ามละลายนมแม่ในน้ำร้อน

การนำนมให้ลูกทาน

  • สามารถให้ลูกทานนมที่ละลายแล้วแบบเย็นๆ ได้เลย เนื่องจากพบว่ามีกลิ่นหืดน้อยกว่า
  • กรณีลูกไม่ชอบนมเย็นแต่ชอบนมอุ่นๆ สามารถนำไปอุ่นในน้ำอุ่น 38-39 องศา หรือเครื่องอุ่นนม ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาได้
  • ให้ชิมนมก่อนให้ลูกทานทุกครั้ง นมแม่อาจมีกลิ่นหืดได้ แต่ห้ามมีรสเปรี้ยว นมแม่ที่เสียแล้วจะมีรสเปรี้ยว ห้ามให้ลูกทานค่ะ

ข้อควรระวัง
  • หลังจากละลายนมสต๊อกแล้วควรทานให้หมดใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่หมดควรทิ้งไป ดังนั้น ควรนำออกมาให้พอดีกับที่ลูกต้องการทานค่ะ
  • ห้ามนำนมสต๊อกที่ละลายแล้วกลับไปแช่ช่องแช็งซ้ำ เพราะอาจมีแบคทีเรียเจริญเติบโตได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : drnoithefamily 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้