Last updated: 20 ก.ค. 2565 | 3275 จำนวนผู้เข้าชม |
การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือและทิ้งลูกอยู่กับหน้าจอเพียงลำพังนานเกินวันละหลายชั่วโมง อาจส่งผลให้เด็กจดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป และไม่ยอมละสายตาเพื่อสนใจกับสิ่งรอบตัวอื่นรอบข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวในสื่อต่าง ๆ บนหน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และหากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการ “สมาธิสั้น” ได้
เช็คสัญญาณพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์”
• แอบเล่นมือถือ ด้วยการหาที่เล่นโดยไม่ให้พ่อแม่เห็น เช่น ในห้องนอน
• ใช้เวลาเล่นมือถือนานขึ้น และเกิดอารมณ์หงุดหงิดเมื่อถูกพ่อแม่ต่อว่า ห้ามไม่ให้เล่น หรือถูกสอดส่องพฤติกรรมจากการเล่นสมาร์ทโฟน
• ตั้งหน้าตั้งตารอเวลาที่จะได้เล่นมือถือ หรือขอเล่นมือถือจากพ่อแม่บ่อย ๆ
• มีการแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว อารมณ์เสียง่าย หงุดหงิด หดหู่ เมื่อไม่ได้เล่น และจะหายทันทีเมื่อพ่อแม่ยอมให้ลูกได้เล่น
• ไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ หรือกิจกรรมรอบตัว เพราะมัวแต่เล่นมือถือ หรือขาดสมาธิระหว่างทำการบ้าน เพราะชอบเปิดสมาร์ทโฟนควบคู่ระหว่างทำการบ้าน
• มีอาการตื่นสายและรู้สึกอ่อนเพลียในตอนเช้า
สาเหตุด้านพฤตกรรมเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะสมาธิสั้น และนอกจากนี้การที่เด็กติดมือถือหรือติดเกม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กมีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่นได้
แนวทางลดความเสี่ยงพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์” ไม่ให้เกิดอาการสมาธิสั้น
1.ต้องกำหนดเวลาในการเล่นสมาร์ทโฟนให้ลูกไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
2.พาลูกออกไปเที่ยวบอกบ้านหรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมกับลูกให้มากขึ้น
3.เอาใจใส่และคอยดูแลสอดส่องพฤติกรรมของลูก
รักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุด ถึงแม้การใช้เทคโนโลยีจะเข้ามีบทบาทสำคัญก็ตาม แต่ก็ควรจะเลือกใช้งานให้พอดี เช่น ใช้งานเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือเสริมพัฒนาการของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพัง เพราะหากปล่อยให้ลูกเสพติดเทคโนโลยีมากเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลตามมาดังกล่าวได้
บทความดีๆจาก thaieditorial.com